เรามาดูการโกหกแบบโคตรมหางี่เง่าแบบอมตะนิรันดร์กาลของมหาโชดกกันต่อ ขอให้พิจารณาภาพด้านบนเลย
มหาโชดกเขียนว่า
วันที่ ๖ ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑ ถึงระยะที่ ๖
วันนี้ต้องเดินให้นานเป็นพิเศษกว่าทุกๆ วัน เพราะ วันนี้เป็นวันอธิษฐานยาว
ต้องการสมาธิดี สมาธิแรง สมาธิดีกว่าทุกๆ วัน
ก่อนอื่นต้องย้ำก่อนว่า
เนื้อหาตรงนี้โกหก เนื้อหาตรงนี้
เขียนว่า “สอนหลวงพ่อวัดปากน้ำแบบนี้” ซึ่งเป็นไปไม่ได้
อย่างที่กล่าวไปแล้วหลายครั้งว่า ถ้าหลวงพ่อวัดปากน้ำจะสนใจเรียนแบบโดนบังคับจากมหาโชดก
และก็มีการเสวนากันจริงๆ ในโบสถ์ของวัดปากน้ำ
หลวงพ่อวัดปากน้ำก็ไม่ต้อง “เริ่ม” แบบนี้มหาโชดกเขียนมา หลวงพ่อวัดปากน้ำสามารถ “ถก” กันถึงวิสุทธิ 7
กับ วิปัสสนาญาณ 16 อันเป็นวิชาสูงสุดของพระพม่าได้เลย
ขอย้ำอีกว่า วิสุทธิ 7 กับ
วิปัสสนาญาณ 16 นั้น พระพม่าไปเอามาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่จะต้องผ่านฌาน 8
ไปก่อนอย่างเชี่ยวชาญ
แต่พระพม่าไปรังเกียจ “ฌาน” หาว่าเป็นของพราหมณ์บ้าง
หาว่าทำให้ติดสุขบ้าง
พระพม่าและสาวกพระพม่าจึงไม่มีใครผ่านวิสุทธิ 7 กับ วิปัสสนาญาณ 16
เลย มีแต่โกหกกันเองทั้งนั้น
หลักฐานของผมที่ว่า พระพม่าและสาวกพระพม่าจึงไม่มีใครผ่านวิสุทธิ 7
กับ วิปัสสนาญาณ 16 เลยกันแม้แต่คนเดียวนั้น
ขอให้ดูความหมายของญาณ
16 ในตารางด้านล่าง ผมเอามาจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์
ฉบับประมวลธรรม ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอย้ำก่อนว่า ญาณ 16 ไม่มีในพระไตรปิฎกนะครับ เป็นการสรุปมาจาก คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
และวิสุทธิมรรค
1. นามรูปปริจเฉทญาณ
|
ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือ
รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม
อะไรเป็นนามธรรม
|
2. ปัจจยปริคคหญาณ
|
ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป
คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน
อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนวกฏแห่งกรรม ก็ดี ตามแนววัฏฏะ 3
ก็ดี เป็นต้น
|
3. สัมมสนญาณ
|
ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มิใช่ตัว
|
4. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
|
ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ
คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด
|
5. ภังคานุปัสสนาญาณ
|
ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ
เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น
ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด
|
6. ภยตูปัฏฐานญาณ
|
ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ
เมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว
สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว
เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น
|
7. อาทีนวานุปัสสนาญาณ
|
ญาณอันคำนึงเห็นโทษ
คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป
เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ
เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์
|
8. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
|
ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว
ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ
|
9. มุญจิตุกัมยตาญาณ
|
ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย
คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น
|
10. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
|
ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย
จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์
เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป
|
11. สังขารุเปกขาญาณ
|
ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง
ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้
ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท
ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้
|
12. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ
|
ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ
เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว
ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป
เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป
|
13. โคตรภูญาณ
|
ญาณครอบโคตร คือ
ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล
|
14. มัคคญาณ
|
ญาณในอริยมรรค คือ
ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น
|
15. ผลญาณ
|
ญาณในอริยผล คือ
ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ
|
16. ปัจจเวกขณญาณ
|
ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน
คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน
เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่
|
ที่ผมเน้นอักษรตัวหนาด้วยสีแดงนั้นคือ
ในฝั่งภาษาบาลีจะมีคำว่า “เห็น” อยู่ทั้งสิ้น
ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นคำว่า “อนุปัสนา”
เมื่อสนธิกับคำข้างหน้าแล้ว
“อ” จะกลายเป็นสระอา
คำว่า “อนุปัสนา” ถ้าจะแปลกันอย่างซื่อตรงจริงๆ
ต้องแปลว่า “ตามเห็น” คือ
ตามเห็นไปเรื่อยๆ ในวิชาธรรมกายก็อย่างเช่น ตามเห็นกาย 18 กายละเอียดไปเรื่อยๆ
การแปล คำว่า
“อนุปัสนา”
เป็น “พิจารณาเห็น”
นี่เป็นการแปลแบบชั่วร้ายแล้ว คือ พยายามบิดเบือนพระไตรปิฎกแล้ว
พอแปล คำว่า “อนุปัสนา”
เป็น “พิจารณาเห็น”
ก็มีการตีความต่อมาว่า “เห็น” นั้น ไม่ต้องเห็นจริงๆ ด้วยตา แต่เป็นการทำความเข้าใจก็ได้
พระพม่าเข้าใจไปแบบนั้น
พระพม่าจึงไม่ยอมเห็นอะไรทั้งสิ้น
เมื่อไม่เห็นแล้วจะผ่านวิสุทธิ 7 กับ วิปัสสนาญาณ 16 ได้อย่างไร
กลับมาที่ข้อความของมหาโชดกอีกครั้งหนึ่ง
วันที่ ๖ ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑ ถึงระยะที่ ๖
วันนี้ต้องเดินให้นานเป็นพิเศษกว่าทุกๆ วัน เพราะ วันนี้เป็นวันอธิษฐานยาว
ต้องการสมาธิดี สมาธิแรง สมาธิดีกว่าทุกๆ วัน
รู้สึกว่า การปฏิบัติธรรมของมหาโชดกนี้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการฝึก
มากกว่าการผ่านหัวข้อธรรมะ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้
ต่อมาถึงข้อความที่สำคัญคือ
บางคนอาจจะสงบเงียบไปได้นานถึง ๒๔ ชั่วโมงก็มี
ทั้งนี้แล้วแต่สมาธิ แล้วแต่ความขยัน แล้วแต่บุญของแต่ละคน
ในหนังสือบางเล่มของมหาโชดกเขียนว่า มีคนสงบเงียบได้ 72 ชั่วโมง คือ 3
วันเลยทีเดียว
ปัญหาก็คือ มหาโชดกให้สงบเงียบไปทำไม และสงบเงียบของมหาโชดกทำอย่างไร
หนังสือของมหาโชดกทุกเล่มจะรังเกียจ “สมถะกรรมฐาน”
หาว่าเนิ่นช้าต่อนิพพานบ้าง
ไม่ใช่คนทางที่ลัดบ้าง แล้ว “สงบเงียบ” นั้น มันคือ “สมถะกรรมฐาน” ใช่หรือไม่
การสงบเงียบของมหาโชดกนั้น
จึงเป็นเรื่องงี่เง่าแบบมหาโชดกอย่างแท้จริง
การที่ ดร. สนอง วรอุไรเห็นเทวดา เห็นนางฟ้าก็น่าจะเป็นช่วงที่สงบเงียบนี้เอง ในเมื่อการทำ “สงบเงียบ”
ทำให้เห็นเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง เห็นในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แล้วมหาโชดกให้ทำไปทำไม
ผมขอฟันธงไปเลยว่า สาวกของมหาโชดกนั้น มีแต่พวกสมองหมา
ปัญญาควายทั้งสิ้น
คำสอนของมหาโชดกมีแต่ความไม่ชอบมาพากล
สอนบ้าๆ บอๆ ผิดๆ พลาดๆ
ยังโง่ไปเชื่อกันอยู่ได้
ตายไปแล้ว ตกนรกบ้าง เป็นเทวดาตามต้นไม้บ้าง ก็สมควรก็พฤติกรรมโง่ๆ
ของพวกท่านแล้ว